• 02
  • Mar
โรคแพ้อาคาร  “Sick Building Syndrome”

โรคแพ้อาคาร “Sick Building Syndrome”

โรคแพ้อาคาร  “Sick Building Syndrome”
 
           เราเคยเล่าไปแล้วเกี่ยวกับ โรคแพ้อาคาร หรือที่เรียกว่า “Sick Building Syndrome”  วันนี้เราจะมาย้ำเรื่องนี้กันอีกครั้ง
                โรคนี้ถือเป็นภัยคุกคามใกล้ตัวเราเป็นอย่างมาก  เพราะทุกวันนี้เราต้องใช้ชีวิตในอาคารตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น       ที่พักอาศัย อย่าง คอนโด บ้าน หรือ ทาวน์โฮม หรือสถานที่ทำงาน  อย่าง สำนักงาน ออฟฟิศ หรือ อาคารพาณิชย์ หรือแม้นแต่ ภายในห้างสรรพสินค้า
            โรคแพ้อาคารมักจะเกิดกับสถานที่ที่ใช้เครื่องปรับอากาศ เพราะเป็นสถานที่ ที่อากาศถ่ายเทได้น้อยไม่มีอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้าไปปรับเปลี่ยนทั้งยัง มีฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อโรค แบคทีเรีย สารระเหย (VOC)  กระจายและวนเวียนอยู่ในอากาศภายในอาคาร หรือจะเป็นมลพิษที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่าง เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องปริ๊นเอกสาร ไมโครเวฟ เป็นต้น นอกจากสิ่งเหล่านี้ที่ก่อให้เกิดโรคแพ้อาคารแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่ง นั้นคือ คนที่อยู่ภายในอาคาร เช่น ในอาคารมีคนอยู่แออัดมากเกินไป หรือ มีคน ไอ จาม ก็ยิ่งทำให้เชื้อโรคกระจายภายในอากาศมากยิ่งขึ้น
   โดยอาการของโรคจะมีอาการ ระคายเคือง คันตามผิวหนัง คนที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว อาการแพ้จะกำเริบมากขึ้นหรือรุนแรงถึงขั้นหอบ และขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน หากเป็นสำนักงานโรคแพ้อาคารจะทำให้พนักงานมีอาการเจ็บป่วยบ่อย ซึ่งหากไม่หาทางแก้ไข หรือป้องกันประสิทธิภาพในการทำงานจะลดลงและจะส่งผลเสียต่อองค์กร
การแก้ไข และ การป้องกันที่ดี คือ

  1. ภายในอาคารควรมีการจัดเรื่องการหมุนเวียนอากาศให้ดีด้วยการติดตั้งพัดลมดูดอากาศ เพื่อช่วยระบายอากาศ หรือใช้เครื่องฟอกอากาศ ในการช่วย กรอกอากาศ ให้สะอาดและบริสุทธิ์
  2. ทำความสะอาดพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ ให้บ่อยขึ้น
  3. ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ พัดลมดูดอากาศ เครื่องฟอกอากาศ
  4. จัดบริเวณที่มีการฟุ้งกระจายของสารระเหย แยกออกจากสถานที่ทำงาน และทำความสะอาดให้บ่อยขึ้น
  5. หาต้นไม้ในร่มมาปลูก และตั้งไว้ตามจุดต่างๆ ในห้องเพื่อช่วยฟอกอากาศ
  6. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นกำเนิดของไอระเหยที่เป็นพิษให้น้อยที่สุด หรือเลือกวัสดุอื่นทดแทน