- 15
- Feb
7 มลพิษในอากาศที่คุณอาจไม่รู้....
7 มลพิษในอากาศที่คุณอาจไม่รู้....
ใน 2 , 3 สัปดาห์ ที่ผ่านมานั้น มีข่าวเกี่ยวกับ มลพิษทางอากาศออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี หรือ Social Media ก็ออกมาตื่นตัวกันในเรื่องมลพิษทางอากาศกันมากมายว่า “อากาศในปัจจุบันเป็นแค่ หมอกควัน หรือ มันเป็นมลพิษกันแน่” ซึ่งทางกรมควบคุมมลพิษก็ออกชี้แจงถึงสภาวะอากาศในปัจจุบันว่าเป็นมลพิษทางอากาศ คือ มีปริมาณฝุ่นละอองมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้หลายภาคส่วนเริ่มให้ความสนใจ และหาแนวทางในการป้องกันในเบื้องต้น แต่เอาจริง ๆ ที่พูด ๆ กันถึงมลพิษในอากาศนั้น คุณรู้ไหมละว่า “มลพิษในอากาศ” มันมีอะไรบ้าง
ที่นี้เราคงต้องมาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่ามลพิษในอากาศ มีอะไรบ้าง?
ใน 2 , 3 สัปดาห์ ที่ผ่านมานั้น มีข่าวเกี่ยวกับ มลพิษทางอากาศออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี หรือ Social Media ก็ออกมาตื่นตัวกันในเรื่องมลพิษทางอากาศกันมากมายว่า “อากาศในปัจจุบันเป็นแค่ หมอกควัน หรือ มันเป็นมลพิษกันแน่” ซึ่งทางกรมควบคุมมลพิษก็ออกชี้แจงถึงสภาวะอากาศในปัจจุบันว่าเป็นมลพิษทางอากาศ คือ มีปริมาณฝุ่นละอองมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้หลายภาคส่วนเริ่มให้ความสนใจ และหาแนวทางในการป้องกันในเบื้องต้น แต่เอาจริง ๆ ที่พูด ๆ กันถึงมลพิษในอากาศนั้น คุณรู้ไหมละว่า “มลพิษในอากาศ” มันมีอะไรบ้าง
ที่นี้เราคงต้องมาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่ามลพิษในอากาศ มีอะไรบ้าง?
- ฝุ่นละออง ถือเป็นมลพิษในอากาศที่เป็นปัญหาหลักในกรุงเทพมหานคร และชุมชนเมือง เพราะจากการวิจัยพบว่าฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพนั้น จะเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก ไม่เกิน 10 ไมครอน เพราะฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้จะสามารถเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจ และผ่านโพรงจมูกเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ ทำให้เกิดการอักเสบ และการระคายเคืองเรื้อรัง และหากฝุ่นละอองนั้นเกิดจากการรวมตัวของก๊าซบางชนิด เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือ ออกไซด์ของไนโตรเจนเข้าไปรวมตัวกับฝุ่นละออง ก็จะก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือ มีอาการระคายเคืองผิวหนัง หรือ ทำอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และ ดวงตา
- สารตะกั่ว ทำลายระบบประสาท และมีผลต่อกระบวนการรับรู้ และการพัฒนาสติปัญญา
- ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ มีความสามารถในการละลายในเลือดได้ดีกว่าออกซิเจนถึง 200 - 250 เท่า เมื่อหายใจเอาก๊าซชนิดนี้เข้าไป จะไปแย่งจับฮีโมโกลบินในเลือดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน ทำให้ความสามารถของเลือดในการเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ลดลง ทำให้เลือดขาดออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และหัวใจทำงานหนักมากขึ้น หากได้รับก๊าซชนิดนี้ในปริมาณที่มากหรือสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน และเป็นอันตรายถึงชีวิต
- ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง และเยื่อบุตา ผู้ได้รับก๊าซจะมีอาการแสบจมูก หลอดลม ผิวหนัง และตา เมื่อหายใจเอาก๊าซชนิดนี้เข้าไปจะทำปฏิกริยากับของเหลวในระบบทางเดินหายใจกลายเป็นกรดซัลฟิวริก ก็จะกัดกร่อนเยื่อบุ และอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานานๆ จะทำให้เป็นโรคจมูก และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ส่งผลกระทบต่อระบบการมองเห็น และผู้ที่มีอาการหอบหืด หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
- ก๊าซโอโซน ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา และเยื่อบุระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อจมูก และปอด ทำให้ความสามารถของปอดในการรับก๊าซออกซิเจนลดลง อาจเกิดโรคหืด โดยเฉพาะในเด็ก และมีอาการเหนื่อยง่ายในผู้สูงอายุและคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง หรือโรคหืด จะมีอาการมากขึ้นกว่าเดิม
- สารอินทรีย์ระเหยง่าย VOC ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบ และการระคายเคืองเรื้อรัง และสารระเหยบางชนิดเป็นสารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ และเสี่ยงต่อการก่อมะเร็ง