• 20
  • Dec
Sick building syndrome (SBS) หรือ โรคตึกเป็นพิษ

Sick building syndrome (SBS) หรือ โรคตึกเป็นพิษ

Sick building syndrome (SBS) หรือ โรคตึกเป็นพิษ  
 จากวิกฤตโรคระบาด โควิดที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ทำให้มีการปรับตัวตามสถานการณ์ของโรคระบาดอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต หรือ การทำงาน โดยปัจจุบัน หลาย ๆ บริษัทฯ มีการปรับตัวในการปฏิบัติงานสำหรับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น สลับวันในการทำงาน หรือ ให้มีการทำงานที่บ้าน (Work home) เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโควิด-19 แต่นอกจากการโรคระบาดที่มีอยู่แล้ว ยังมีโรคอีกประเภทหนึ่ง ที่เราต้องมาทำความรู้จักกัน นั้นก็คือ Sick building syndrome (SBS)
 โรค Sick building syndrome (SBS) หรือที่เรียกกันว่า โรคตึกเป็นพิษ  จะมีภาวะความผิดปกติด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น การระคายเคืองตา แสบตา  แสบจมูก คันในลำคอ การหายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย มีอาการปวดหัว หรือ คันตามผิวหนัง อาการเหล่านี้เกิดเนื่องมาจาก “มลพิษทางอากาศในอาคาร” (indoor air pollution) ซึ่งมลพิษในอาคารนั้นพบว่ามีมากกว่ามลพิษจากภายนอกอาคารด้วยซ้ำ โดยมลพิษทางอากาศในอาคารนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การรีไซเคิลอากาศภายในอาคาร อากาศภายในอาคารถ่ายเทไม่สะดวก การปนเปื้อนของสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ภายในอาคาร สารเคมีที่ระเหยจากเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น  
 จากอาการของโรคที่ไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้นั้น จึงทำให้การป้องกันตัวเองจากภาวะโรคตึกเป็นพิษมีความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ภายในอาคาร เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ที่ชำรุด ทำความสะอาดในบริเวณที่ทำงานบ่อย ๆ ใช้เครื่องฟอกอากาศ ช่วยในการกรองอากาศเพื่อป้อนกันการปนเปื้อนของการรีไซเคิลอากาศภายในอาคาร และพยายามพักสายตาระหว่างทำงานหรือยืดเส้นยืดสายในช่วงเวลาพักเพื่อลดความเครียดในการทำงาน เพื่อสุขภาพของตัวเราเอง