- 22
- Jan
วิธีเก็บสารเคมี ให้ตรงตามคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด
วิธีเก็บสารเคมี ให้ตรงตามคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด
ตามโรงงานอุตสาหกรรม แล็ป หรือกิจการต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีการใช้งานสารเคมีไม่ว่าจะชนิดเดียว หรือหลายชนิดก็ตาม ต้องคำนึงถึงเรื่องการเก็บสารเคมีให้ถูกต้อง ถูกวิธี ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมจัดเก็บสารเคมีโดยเรียงตามพยัญชนะของชื่อสาร หรือจับกลุ่มสารเคมีที่สามารถใช้วัตถุดับไฟประเภทเดียวกันได้ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
หลักการทั่วไปในการเก็บสารเคมี
- สถานที่ที่ใช้เก็บสารเคมี ควรเป็นที่ที่ปิดมิดชิดพร้อมป้ายบ่งบอกชัดเจนว่า “สถานที่เก็บสารเคมี” ผนังกำแพงต้องเป็นแบบทนไฟ ภายในพื้นที่เก็บควรเป็นพื้นที่เย็นและแห้ง อากาศถ่ายเทได้ดี แต่แดดส่องไม่ถึง
- ชั้นวางสารเคมีต้องมีความแข็งแรง มั่นคง ไม่สั่นสะเทือน
- ภาชนะที่บรรจุสารเคมีควรมีความทนต่อแรงดัน การกัดกร่อน และแรงกระแทกจากภายนอก ควรมีภาชนะสำรองไว้เสมอ และต้องมีป้ายปิดที่ทนทานระบุชื่อสารเคมี อันตรายและข้อควรระวังไว้ชัดเจนที่ข้างภาชนะ
- สำหรับตำแหน่งที่ใช้ในการจัดเก็บสารเคมี ไม่ควรวางขวดบนพื้นโดยตรง หรือวางในที่แคบ ใกล้ประตูและหน้าต่าง ส่วนการเก็บสารเคมีที่มีขนาดใหญ่และหนัก ไม่ควรเก็บไว้ในที่สูง
- ต้องมีระบบการจัดเก็บสารที่มีระเบียบ บริเวณที่เก็บต้องสะอาดอยู่เสมอ และเรียงสารตามการหมดอายุก่อน-หลัง สารเคมีตัวใดหมดอายุให้รีบทำลายทิ้งทันที
- ต้องมีอุปกรณ์ดังเพลิง อุปกรณ์ป้องกันภัย และชุดปฐมพยาบาลพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
เก็บสารเคมีตามคุณสมบัติของสารแต่ละประเภท
สารเคมีไวไฟ
สารเคมีที่จัดเป็นสารไวไฟ คือสารเคมีที่สามารถละอองหรือฝุ่นของสารเคมีนั้น สารมารถติดไฟได้ในอุณหภูมิและความดันปกติ เช่น ผลละเอียดของโลหะ ฟอสฟอรัส ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส เป็นต้น
วิธีการเก็บรักษาสารเคมีกลุ่มนี้ คือ
- ควรเก็บในพื้นที่อากาศถ่ายเท และอยู่ห่างจากแหล่งจุดติดไฟ เช่น ความร้อน เปลวไฟ
- เก็บไว้ในภาชนะที่ปลอดภัย มีฝาปิดแน่นเพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปได้ และควรเก็บไว้ในตู้เก็บสารไวไฟโดยเฉพาะ
- ควรเก็บสารเคมีชนิดนี้ให้ห่างจากสาร Oxidizers สารที่ลุกติดไฟได้ สารที่ระเบิดได้ และสารที่ทำปฏิกิริยากับความร้อนและทำให้เกิดความร้อน
- ภายในและโดยรอยพื้นที่จัดเก็บ ต้องมีป้ายห้ามสูบบุหรี่หรือก่อประกายไฟติดไว้ รวมถึงต้องมีการต่อสายไฟฟ้าลงดิน เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดไฟฟ้าสถิต
สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้
สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ คือสารเคมีที่เมื่ออยู่เดี่ยวๆ อาจจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่เมื่ออยู่ด้วยกันหรือใกล้กันจะก่อให้เกิดความร้อน เกิดการระเบิด หรือเกิดเป็นสารพิษขึ้นได้
วิธีการจัดเก็บสารเคมีกลุ่มนี้ คือ
- ควรแยกพื้นที่จัดเก็บออกจากกันอย่างชัดเจน
- ควรเตรียมเครื่องดับเพลิง Class D เอาไว้ในกรณีเกิดเพลิงไหม้จาก Oxidizers
- เก็บให้ห่างเชื้อเพลิงและวัตถุติดไฟ
- เก็บห่างจาก reducing agents เช่น zinc, alkaline metal หรือ formic acid
สารเคมีที่เป็นพิษ
สารเคมีที่เป็นพิษ (toxic chemicals) คือ สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต รวมถึงสารกัมมันตภาพรังสีด้วย
วิธีการจัดเก็บสารเคมีกลุ่มนี้ คือ
- ภาชนะที่ใช้จัดเก็บสารเคมีประเภทนี้ ควรเป็นภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด อากาศเข้าไปไม่ได้ และตั้งให้ห่างจากแหล่งจุดติดไฟ
- ควรมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ทั้งภาชนะที่บรรจุสารเคมี และบริเวณโดยรอบ
- สำหรับสารที่ไวต่อแสง ควรเก็บในบรรจุภัณฑ์สีชา ในพื้นที่แห้ง เย็น และมืด
สารเคมีกัดกร่อน
สารเคมีกัดกร่อน คือ สารเคมีที่เป็นกรด หรือด่าง ส่วนมากสารพวกนี้จะทำลายบรรจุภัณฑ์ และออกมายังบรรยากาศภายนอกได้ ดังนั้นต้องใส่ใจในเรื่องของบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก
วิธีการจัดเก็บสารเคมีกลุ่มนี้ คือ
- การเก็บสารเคมีที่เป็นด่าง ควรเก็บแยกจากสารที่เป็นกรด และวัตถุอื่นๆ ที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา
- การเก็บสารที่เป็นกรด ควรเก็บแยกจากโละที่ทำปฏิกิริยา เช่น Sodium Potassium และ Magnesium เป็นต้น
- เก็บไว้ในที่เย็น แต่ต้องสูงกว่าจุดเยือกแข็ง
- ก่อนใช้งานสารเคมีเหล่านี้ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันทั้งถุงมือ แว่นตา ฯลฯ เสมอ
สารเคมีที่ระเบิดได้
สารที่ระเบิดได้ คือสารที่ไวต่อปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ระยะเวลาในการนำออกมาจากบรรจุภัณฑ์ ความร้อนหรือเย็นจัด ความแห้ง การสั่นสะเทือน เป็นต้น เมื่อสารเคีเหล่านี้โดนกระตุ้น ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ จนเกิดการ Decompose ซึ่งทำให้อากาศรอบๆ เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่มาของระเบิดนั่นเอง
วิธีการจัดเก็บสารเคมีกลุ่มนี้ คือ
- ควรสารเคมีเหล่านี้ให้ห่างจากอาคารอื่นๆ และมีการล็อคอย่างแน่นหนา
- ไม่ควรเก็บในที่มีเชื้อเพลิง หรือสารที่ติดไฟได้ง่าย และต้องห่างเปลวไฟอย่างน้อย 20 ฟุต
- ไม่ควรมีชนวนระเบิด (detonators) และเครื่องมือและสารอื่นๆ อยู่ด้วย
- ไม่ควรซ้อนกันเกิน 6 ฟุต หากต้องการเคลื่อนย้าย ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
- ห้ามไม่ให้ผู้อื่นเข้าไปในที่เก็บสารเคมีเด็ดขาด
การจัดเก็บสารเคมีเหล่านี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญหากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็จะนำมาซึ่งอันตรายต่อทรัพย์สินและชีวิตได้ นอกจากการเก็บสารเคมีให้ถูกต้องแล้ว ผู้ใช้งานควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสมอ รวมถึงตรวจเช็คสถานที่จัดเก็บอยู่เสมอ หากเกิดการรั่วไหลของสารเคมี จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ดูดซับสารเคมีเตรียมไว้ และอุปกรณ์พื้นฐานในเหตุฉุกเฉินอีกด้วยนะคะ
ใครที่สนใจสั่งซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับโรงงาน ก็สามารถเข้าไปเลือกซื้อได้ที่ บริษัท ยูโรสแกน จำกัด เรามีอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพจากประเทศญี่ปุ่น
ที่มา: shawpat.or.th